เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กรุณาคลิก ยอมรับ
เพื่อดำเนินการ หรือ อ่านรายละเอียดสำหรับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ กรุณาคลิก ยอมรับ
เพื่อดำเนินการ หรือ อ่านรายละเอียดสำหรับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กฎหมายการลางาน
ลากิจ ลาป่วย ลาพักร้อนได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน ?
ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วันตามกฎหมาย
การลาไม่ว่าจะเป็น ลากิจ ลาพักร้อน ลาป่วย ล้วนเป็นสวัสดิการของพนักงานทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละองค์กรก็จะมีเงื่อนไขการลาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการลานั้นมีกฎหมายที่คุ้มครองอยู่ โดยทุกองค์กรจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยในบทความนี้เรามาหาคำตอบกันว่าการลาในรูปแบบต่างๆ นั้นมีข้อบังคับอย่างไรกันบ้าง
การลากิจ มีอะไรบ้าง ?
หากคุณจำเป็นต้องหยุดงานเพื่อไปทำธุระที่เร่งด่วน ไม่สามารถรอให้ถึงวันหยุดได้ การลาในรูปแบบนี้เรียกว่า “ลากิจ” ซึ่งการลารูปแบบนี้ค่อนข้างจะยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขขององค์กรเป็นหลัก หากคุณสงสัยว่าธุระที่สามารถลากิจได้มีอะไรบ้าง เราได้ยกตัวอย่างมาให้คุณแล้ว ดังต่อไปนี้
• พาครอบครัวเข้ารับการรักษาตามใบนัดของแพทย์
• ติดต่อหน่วยงานราชการ เช่น ถ่ายบัตรประชาชน ต่ออายุใบขับขี่ เป็นพยานในชั้นศาล เป็นต้น
• เข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เล่นงานศพคนในครอบครัว งานอุปสมบท เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ
• งานรับปริญญา ทั้งรับเอง และร่วมยินดีกับคนสนิท
สามารถลากิจได้กี่วัน ?
การลากิจนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองทางด้านกฎหมายสักเท่าไหร่ เพราะจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนั้น ระบุเอาไว้ว่าผู้จ้างจะต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลากิจได้อย่างน้อยปีละ 3 วัน โดยจะไม่มีการหักค่าจ้างใดๆ ทั้งสิ้น หากเกินกว่ากำหนดบริษัทสามารถพิจารณาหักเงินในวันนั้นๆ ได้ รวมถึงอาจโดนพิจารณาในเรื่องเบี้ยขยัน โบนัสประจำปี รวมไปถึงหากไม่มีเหตุอันควร บริษัทอาจไม่อนุมัติการลาในครั้งนั้นๆ ได้เช่นเดียวกัน
สรุปลากิจต่างๆ ตามกฎหมายหักเงินไหม
ลูกจ้างที่ลาตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ นายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงินใด ๆ ทั้งสิ้น หากลูกจ้างคนไหนที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังโดนเอาเปรียบในเรื่องของวันลา สามารถร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการ และการคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ของคุณได้ในทุกวันทำการ รวมถึงสามารถร้องเรียนออนไลน์ก็ได้เช่นเดียวกัน
การลาป่วยได้กี่วัน ?
มาเริ่มต้นด้วยการลารูปแบบแรกอย่างการ “ลาป่วย” โดยการลาในรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างเกิดอาการเจ็บป่วย จำเป็นต้องพักรักษาอาการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานประจำปี พ.ศ. 2541 มาตราที่ 32 และ 57 แจ้งเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ตามระยะเวลาจริงที่เจ็บป่วย โดยจะไม่ถูกหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งใน 1 ปี มีโควต้าการลาป่วยอยู่ที่ 30 วัน หากเกินจากที่กำหนดเอาไว้ผู้จ้างมีสิทธิ์หักค่าจ้างในวันนั้นๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขององค์กร
ลาพักร้อนได้กี่วัน ?
สำหรับการลารูปแบบสุดท้ายที่เราจำมาแนะนำนั่นก็คือ “การลาพักร้อน” เป็นการลาที่มนุษย์เงินเดือนโหยหามากที่สุด เพราะว่าเป็นการได้หลุดจากการทำงานอันเหน็ดเหนื่อย เพื่อไปพักผ่อนหย่อนใจได้ตามอัธยาศัย ซึ่งตามกฎหมายแล้วลูกจ้างสามารถพักร้อนได้ปีละ 6 วันเป็นอย่างน้อย ซึ่งเช่นเคยเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นอยู่กับองค์กรที่คุณร่วมงาน บางที่อาจให้ 9 วัน , 10 วัน ไปจนถึง 15 วันก็มี โดยต่อจากนี้เราหยิบเอาเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับการพักร้อนมาฝาก ซึ่งเป็นข้อสงสัยที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนกำลังสงสัยในเวลานี้อย่างแน่นอน
• วันลาพักร้อน ทบได้ถึงเดือนไหน ?
สำหรับผู้ที่ยังคิดไม่ออกว่าจะลาเพื่อไปเที่ยวไหน ทำให้ในปีนั้นๆ คุณไม่ได้ใช้โควต้าการลาพักร้อน เลยสงสัยว่าหากนำสิทธิ์ที่ยังไม่ได้ใช้ในปีนี้ ไปทบกับปีหน้า และปีถัดๆ ไป จะสามารถลาได้รวดเดียวถึงเดือนเลยไหม ? คำตอบคือ “ได้” แต่.. สำหรับบางองค์กรเพียงเท่านั้น เพราะหากว่ากันตามหลักกฎหมายสามารถทำได้ ไม่ขัดแย้งมาตราใดๆ ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรที่คุณทำงานอยู่อนุญาตหรือไม่เท่านั้นเอง
• ทำงานไม่ถึงปี ใช้วันลาพักร้อนได้ไหม ?
ถ้ายึดตามหลักกฎหมายแล้ว “ไม่ได้” เพราะการที่คุณจะสามารถลาพักร้อนได้นั้น คุณจะต้องมีอายุงานถึง 1 ปีเสียก่อน แต่สุดท้ายแล้วหากคุณเป็นลูกจ้างที่มีความประพฤติดี เป็นพนักงานดีเด่น มีผลงานเข้าตานายจ้าง คุณก็อาจได้รับวันลาแม้อายุงานจะยังไม่ถึง 1 ปีเต็มก็ได้เช่นเดียวกัน
ลาคลอดได้กี่วัน ?
สำหรับลูกจ้างที่เป็นสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ คุณไม่ต้องกังวลไปว่าจะต้องทำงานไปจนถึงวันคลอด และต้องรีบกลับมาทำงานหลังคลอดเสร็จ เพราะว่าตามกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่ใช้ปัจจุบันระบุเอาไว้ในมาตราที่ 41 และ 57 ว่า “หญิงมีครรภ์มีสิทธิ์ลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 90 วัน” ซึ่งในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็น 98 วันเป็นที่เรียบร้อย หากในระหว่างนั้นมีวันหยุดต่างๆ ก็จะนับรวมไปด้วยใน 98 วันโดยลูกจ้างสามารถรับเงินค่าจ้างได้ไม่เกิน 45 วัน และยังสามารถเบิกสิทธิ์ต่างๆ จากประกันสังคมได้อีกด้วย